ตำนานพระเจ้าห้าพระองค์
|
ตำนานพระเจ้าห้าพระองค์ตั้งแต่ก่อนที่พระพุทธเจ้าจะตรัสรู้ |
ตำนานพระเจ้าห้าพระองค์พรรณนาประวัติของพระพุทธเจ้าแต่ละพระองค์ ตั้งแต่ก่อนเป็นพระพุทธเจ้าจนถึงตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าและปรินิพพาน พระพุทธเจ้าทั้ง ๕ พระองค์นี้ก่อนที่จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าเคยเกิดมาเป็นพี่น้องกัน ในสมัยปฐมกัลป์มีพญากาเผือกทำรังอยู่ใต้ต้นมะเดื่อริมฝั่งแม่น้ำคงคา แม่กาเผือกได้ออกและฟักไข่ ๕ ฟองไว้ที่ต้นมะเดื่อ ภายหลังเกิดพายุใหญ่พัดรังกากระจัดกระจายไป ไข่กาทั้ง ๕ ฟองตกลงมาจากต้นไม้นั้นและถูกพายุพัดไหลไปตามนํ้า แม่กาเผือกเห็นดังนั้นเข้าใจว่าลูกตายจึงตรอมใจตายและไปเกิดเป็นท้าวพกาพรหม ส่วนไข่ทั้ง ๕ ฟองนั้นก็มีแม่สัตว์ต่างๆ เก็บได้และนำไปเลี้ยงเป็นบุตร แม่สัตว์เหล่านั้น ได้แก่ แม่ไก่ แม่นาค แม่เต่า แม่โค และแม่สิงห์ เมื่อครบกำหนดไข่ก็แตกออกมาเป็นมนุษย์เพศชาย ๕ คน ต่อมาเมื่อทารกทั้ง ๕ เจริญวัยขึ้น จึงได้อำลาแม่เลี้ยงของตนเหมือนกันทั้ง ๕ พระองค์ออกบวชเป็นฤๅษีอยู่ในป่า ด้วยปณิธานอันแน่วแน่ของพระโพธิสัตว์ทั้ง ๕ พระองค์ที่มุ่งมั่นจะบำเพ็ญบารมีพระโพธิญาณเพื่อเป็นพระพุทธเจ้าไปโปรดสัตว์โลก จึงขอฝากนามแม่เลี้ยงเอาไว้เพื่อเป็นอนุสรณ์ตำนานให้แก่โลกต่อไป ตามลำดับนามดังต่อไปนี้
องค์ที่ ๑ มีพระนามว่า พระกกุสันโธ เพราะตามนามแม่เลี้ยงเป็นไก่
องค์ที่ ๒ มีพระนามว่า พระโกนาคมโน เพราะตามนามแม่เลี้ยงเป็นนาค
องค์ที่ ๓ มีพระนามว่า พระกัสสโป เพราะตามนามแม่เลี้ยงเป็นเต่า
องค์ที่ ๔ มีพระนามว่า พระโคตรโม เพราะตามนามแม่เลี้ยงเป็นโค
องค์ที่ ๕ มีพระนามว่า พระศรีอริยเมตไตรโย เพราะตามนามแม่เลี้ยงเป็นราชสีห์
ครั้งนั้นร้อนไปถึงพระอินทร์จึงทรงให้พระวิษณุกรรมตำนานพระเจ้าห้าพระองค์นิมิตอาศรมแก่ฤๅษีทั้ง ๕ ตนนั้น ได้บำเพ็ญเพียรพระกัมมัฏฐานสำเร็จฌานอภิญญาสมบัติ จึงสามารถเหาะหาไปหาผลไม้และบำเพ็ญเพียรที่ป่าดอยสิงกุตตระ ณ ใต้ต้นไม้มณีโคตรอันร่มรื่นด้วยกิ่งไม้สาขาใหญ่ ด้วยเหตุปัจจัยในกุศลมีธรรม พระฤๅษีทั้ง ๕ ตนเดินทางมาพบกันโดยบังเอิญโดยมิได้นัดหมายรู้จกกันมาก่อน จึงสอบถามความเป็นมาของกันและกันจึงรู้ว่าแต่ละองค์มีแต่แม่เลี้ยง ฤๅษีทั้ง ๕ จึงตั้งสัจจะอธิษฐานขอพบแม่บังเกิดเกล้าที่แท้จริง เป็นเหตุให้ท้าวฆติกามหาพรหมซึงเป็นแม่ทราบเหตุการณ์ จึงจำแลงเป็นแม่กาเผือกขาวปรากฏต่อหน้าฤๅษีทั้ง ๕ พร้อมเล่าเรื่องราวทั้งหมดให้ลูกฟัง ฤๅษีทั้ง ๕รู้สึกสังเวชใจเป็นอย่างยิ่งและสำนึกบุญคุณอันใหญ่หลวงของแม่กา แล้วกราบขอสัญลักษณ์อนุสรณ์ของแม่กาเผือกไว้บูชา แม่กาเผือกได้ประทานผ้าฝ้ายเป็นด้ายพันตีนกาให้แก่ลูกฤๅษีทั้ง ๕ ไว้เป็นไส้ประทีปบูชาทุกวันพระและต่อมาเป็นประเพณีจุดประทีป ตีนกาบูชาแม่กาเผือกในวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๒ ลอยกระทง เป็นตำนานสืบไว้ในโลกาตลอดกาลนา
ตำนานพระเจ้าห้าพระองค์นับเป็นตำนานพุทธศาสนาของไทยที่สร้างสรรค์ขึ้นในวัฒนธรรมไทย เป็นภูมิปัญญาในการเชื่อมความสัมพันธ์ในฐานะพี่น้องระหว่างพระพุทธเจ้าทั้ง ๕ พระองค์ นอกจากนี้ยังมีบทบาทอยู่ในสังคมมาอย่างยาวนานและต่อเนื่องอาทิ การเป็นต้นกำเนิดประเพณีต่างๆ เช่น ประเพณีไหลเรือไฟ ประเพณียี่เป็ง ประเพณีไต้ประทีปประเพณีทานตุง อีกทั้งยังมีบทบาทในทางการเมือง หรือการนำไปใช้อ้างอิงในกฎหมายตราสามดวง และมีบทบาทเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์งานศิลปกรรมต่างๆที่เกี่ยวข้องกับพระศรีอาริยเมตไตรย์อีกด้วย |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
บั้งไฟพญานาคขึ้นที่โขงเจียมอุบล |
|
|
สถิติผู้เข้าชม
|
ขณะนี้มีผู้เข้าใช้
|
4
|
ผู้เข้าชมในวันนี้
|
1,300
|
ผู้เข้าชมทั้งหมด
|
3,136,930
|
เปิดเว็บ
|
24/11/2556
|
ปรับปรุงเว็บ
|
17/12/2566
|
|
|
|
|
13 ธันวาคม 2567
|
อา |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ |
ศ. |
ส. |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 |
31 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|