รอยพระพุทธบาทตามความเชื่อ
|
รอยพระพุทธบาทพระพุทธเจ้าตามความเชื่อ |
รอยพระพุทธบาทเป็นสิ่งแทนพระพุทธเจ้าอีกสิ่งหนึ่งที่พุทธศาสนิกชกชนเคารพสักการะ รอยพระพุทธบาทพระพุทธเจ้าปรากฏในหลายพื้นที่ แต่ละพื้นที่รอยพระพุทธบาทอาจมีขนาดเล็กใหญ่ต่างกัน การนับถือรอยพระพุทธบาทเป็นเจดียสถานมีมูลเหตุเกิดขึ้นจากคติที่ต่างกัน
คติของชาวมัชฌิมประเทศถือกันตั้งแต่พุทธกาลว่าไม่ควรสร้างรูปเทวดาหรือมนุษย์ขึ้นไหว้เซ่นสรวงสักการบูชา คตินั้นถือกันมาจนพุทธกาลล่วงเลยมาร้อยกว่าปีจึงได้เลิก เพราะฉะนั้นพระเจดีย์ที่พวกศาสนิกชนสร้างเมื่อก่อน พ.ศ.500 จึงทำแต่พระสถูปหรือวัตถุต่างๆเป็นเครื่องหมายสำหรับบูชาแทนพระองค์พระพุทธเจ้า รอยพระพุทธบาทเป็นวัตถุอย่างหนึ่งซึ่งชอบทำกันในสมัยนั้น ใบบาลีก็ไม่ปรากฏอ้างว่าพระองค์ได้ทรงเหยียบรอยพระพุทธบาทไว้ ณ สถานที่แห่งใด
คติที่ถือกันในลังกาวีนั้นเป็นการเกิดขึ้นชั้นหลัง อ้างว่าพระพุทธองค์ได้เหยียบรอยพระพุทธบาทไว้ให้สาธุชนสักการบูชา 5 แห่งคือ 1. เขาสุวรรณบาลิก 2. เขาสุวรรณบรรพต(ไทย) 3. เขาสุมนกูฏ(ลังกา) 4. เมืองโยนกบุรี 5. หาดในลำน้ำทานที รอยพระพุทธบาทถือกันว่าเป็นมิ่งขวัญแห่งราชอาณาจักร และเป็นที่มาแห่งอานุภาพทั้งทางโลกและทางธรรมของพระมหากษัตริย์
รอยพระพุทธบาทที่เขาสุวรรณบรรพตมาปรากฏในสมัยอยุธยา ในรัชสมัยรัชกาลสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม(พ.ศ.2163-2171) รอยพระพุทธบาทที่ยอดเขาสัจจพันธคีรี(สุวรรณคีรี) จังหวัดสระบุรี นับเป็นบริโภคเจดีย์ด้วยเป็นรอยพระพุทธบาทที่พระพุทธเจ้าได้ทรงเสด็จมาประทับไว้ด้วยพระองค์เอง แต่คติเรื่องการบูชารอยพระพุทธบาทได้แผ่เข้าสู่ดินแดนสยามประเทศตั้งแต่สมัยทวาราวดี เห็นได้จากรอยพระพุทธบาทที่เก่าแก่ที่สุดที่พบในประเทศไทย คือรอยพระพุทธบาทที่สระมรกต อำเภอโคกบีบ จังหวัดปราจีนบุรี |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
บั้งไฟพญานาคขึ้นที่โขงเจียมอุบล |
|
|
สถิติผู้เข้าชม
|
ขณะนี้มีผู้เข้าใช้
|
4
|
ผู้เข้าชมในวันนี้
|
132
|
ผู้เข้าชมทั้งหมด
|
3,034,710
|
เปิดเว็บ
|
24/11/2556
|
ปรับปรุงเว็บ
|
17/12/2566
|
|
|
|
|
12 ตุลาคม 2567
|
อา |
จ. |
อ. |
พ. |
พฤ |
ศ. |
ส. |
| |
1 |
2 |
3 |
4 |
5 |
6 |
7 |
8 |
9 |
10 |
11 |
12 |
13 |
14 |
15 |
16 |
17 |
18 |
19 |
20 |
21 |
22 |
23 |
24 |
25 |
26 |
27 |
28 |
29 |
30 |
31 |
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|
|